ยินดีต้อนรับสู่เว็ปไซต์

บทที่ 7

 บทที่ การพิมพ์จดหมายธุรกิจตามหลักการ


การพิมพ์จดหมายธุรกิจตามหลักการ
          จดหมายธุรกิจเป็นจดหมายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจต่างๆ ใช้สำนวนภาษาที่เป็นสากลนิยม สุภาพ และเหมาะสม มีรูปแบบการพิมพ์ที่ถูกต้อง สะอาด สวยงาม โดยการพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้รับหรือลูกค้าที่ติดต่อสื่อสารกัน
          ส่วนต่างๆของจดหมายธุรกิจต่างประเทศ
          จดหมายธุรกิจต่างประเทศ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หัวจดหมาย (Letterhead หรือ Heading) ประกอบด้วย ชื่อบริษัท ห้างร้าน ที่อยู่ โทรศัพท์โทรสาร หรือ e-mail ปกติหัวจดหมายจะมีขนาดกว้างประมาณ 1½-2 นิ้ว
2. วัน เดือน ปี (Data line) พิมพ์ไว้ใต้บรรทัดสุดท้ายของหัวจดหมาย 3-4 ระยะบรรทัดเดี่ยว เริ่มพิมพ์ที่กึ่งกลางกระดาษ หรือพิมพ์ชิดกั้นหน้าซ้ายมือ หรือชิดกั้นหลังขวามือสำหรับจดหมายบางแบบ
3. ชื่อและที่อยู่ผู้รับจดหมาย (Inside Address) พิมพ์ชิดกั้นหน้าใต้วันที่ โดยปัด 4-8 ระยะบรรทัดเดี่ยว ตาขนาดสั้นยาวของจดหมาย ประกอบด้วย ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง ชื่อบริษัท เลขที่ ถนน เมือง รับ และรหัสไปรษณีย์ (Zip Code) ให้พิมพ์ห่างจากชื่อรัฐ 2-3 ตัวอักษร
4. การระบุชื่อผู้รับ (Attention Line) พิมพ์ไว้ใต้ที่อยู่ผู้รับจดหมาย 2 ระยะบรรทัดเดี่ยวใช้ในกรณีที่ผู้รับจดหมายเป็นชื่อบริษัท ห้างร้าน ถ้าทราบชื่อหรือตำแหน่งของผู้รับให้ระบุหรือพิมพ์ไว้ใน Attention
5. คำขึ้นต้นจดหมาย (Salutation) พิมพ์ชิดกั้นหน้าด้านซ้ายใต้ที่อยู่ผู้รับจดหมายหรือใต้ Attention (ถ้ามี) ระยะบรรทัดเดี่ยว
6. ชื่อเรื่อง(Subject Line) พิมพ์ไว้ใต้คำขึ้นต้นหรือใต้ Subject (ถ้ามี) การขึ้นตอนใหม่หรือย่อหน้าใหม่ (5 ตัวอักษร) ให้ปัด 2 ระยะบรรทัดเดี่ยว
7. ข้อความจดหมาย (Body of Letter) พิมพ์ไว้ใต้คำขึ้นต้นหรือใต้ Subject (ถ้ามี) การขึ้นตอนใหม่หรือย่อหน้าใหม่ (5 ตัวอักษร) ให้ปัด 2 ระยะบรรทัดเดี่ยว
8. คำลงท้ายจดหมาย (Complimentary Closed) พิมพ์ไว้ใต้ข้อความจดหมาย ระยะบรรทัดเดี่ยว ส่วนใหญ่จะเริ่มพิมพ์ที่กึ่งกลางกระดาษ ยกเว้นจดหมายแบบ Full Blocked และ Square Blocked
9. ชื่อบริษัท หรือชื่อห้างร้าน (Company Name) พิมพ์ไว้ใต้คำลงท้าย ระยะบรรทัดเดี่ยว และพิมพ์ตัวใหญ่ทั้งบรรทัด หรือจะพิมพ์ชื่อบริษัท ห้างร้านไว้ใต้ตำแหน่งโดยปัด ระยะบรรทัด
10. ชื่อและตำแหน่งผู้ลงนามในจดหมาย (Name and Position) พิมพ์ไว้ใต้คำลงท้าย หรือชื่อบริษัท (ถ้ามี) ระยะบรรทัดเดี่ยว ถ้าชื่อสั้นอาจจะพิมพ์ตำแหน่งไว้บรรทัดเดียวกับชื่อก็ได้ โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย , (Comma) หรืออาจพิมพ์ตำแหน่งไว้ใต้ชื่อ ระยะบรรทัดเดี่ยว 
11. ชื่อย่ออ้างอิง (Identification Data หรือ Initials) จดหมายธุรกิจมักจะพิมพ์ชื่อย่อของผู้สั่งพิมพ์และผู้พิมพ์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบจดหมาย โดยพิมพ์ชิดกั้นหน้าใต้ชื่อและตำแหน่ง ระยะบรรทัดเดี่ยว หรือจะพิมพ์เฉพาะชื่อย่อผู้พิมพ์ก็ได้ ปกติชื่อย่อผู้สั่งพิมพ์จะพิมพ์ตัวใหญ่ ชื่อย่อผู้พิมพ์จะพิมพ์ตัวเล็ก
12. สิ่งที่ส่งมาด้วย (Enclosure) บางครั้งจดหมายมีสิ่งที่ส่งไปพร้อมกับจดหมาย ฉะนั้นในตัวจดหมายจะต้องพิมพ์ระบุว่ามี Enclosure ให้พิมพ์ไว้ใต้ชื่อย่ออ้างอิง ระยะบรรทัดเดี่ยวและก่อนปิดซองจดหมายต้องตรวจสอบสิ่งที่ส่งไปด้วยให้เรียบร้อย
13. สำเนาคู่ฉบับ (Carbon Copy) หรือ cc ถ้าต้องการนำส่งสำเนาไปยังผู้เกี่ยวข้องนอกเหนือจากผู้รับใน Inside Address แล้ว ให้ระบุชื่อผู้ที่ต้องการส่งสำเนาไปให้ไว้ในต้นฉบับด้วยโดยพิมพ์ไว้ใต้สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ระยะบรรทัดเดี่ยว


แบบจดหมายธุรกิจต่างประเทศ
ที่นิยมใช้มี แบบ คือ
  • Full Blocked Style (Extreme Blocked หรือ Strict Blocked)
  • Modified Blocked Style without paragraph หรือ Blocked Style
  • Semi-Blocked Style หรือ Modified Blocked Style with Paragraph Indention





การวางรูปแบบจดหมายธุรกิจต่างประเทศ
          การพิมพ์จดหมายธุรกิจต่างประเทศ ต้องวางรูปแบบให้ถูกต้อง เหมาะสม สวยงาม โดยพิจารณาจาก้อความของจดหมาย
  1. จดหมายขนาดสั้น ข้อความต่ำกว่า 100 คำ ความกว้างของจดหมาย เท่ากับ นิ้ว หรือกั้นหน้า – กั้นหลังจากขอบกระดาษ นิ้ว
  2. จดหมายขนาดกลาง ข้อความ 101 – 200 คำ ความกว่างของจดหมายเท่ากับ นิ้ว หรือกั้นหน้า – กั้นหลังจากขอบกระดาษ 1½ นิ้ว
  3. จดหมายขนาดยาว ข้อความ 201 – 300 คำขึ้นไป ความกว้างของจดหมายเท่ากับ นิ้ว หรือกั้นหน้า – กั้นหลังจากขอบกระดาษ นิ้ว
  4. การพิมพ์จดหมายตั้งแต่ หน้าขึ้นไป ความกว้างของจดหมายที่พิมพ์เท่ากับ นิ้ว หรือกั้นหน้า – กั้นหลังเท่ากับ นิ้ว



การพิมพ์เครื่องหมายวรรคตอน (Style of Punctuation)
          จดหมายธุรกิจต่างประเทศ มีเครื่องหมายวรรคตอน แบบ คือ
1. Open Punctuation หรือ Open Patten (แบบเปิด) ไม่ต้องใส่เครื่องหมายใดๆ ยกเว้นอักษรย่อ หรือเครื่องหมายจบประโยค จึงจะมีเครื่องหมาย (Full Stop) ท้ายอักษรนั้น
2. Mixed Punctuation หรือ Standard Pattern (แบบผสม) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากมีเครื่องหมายเพียง แห่ง คือ
 (Colon)     หลังคำขึ้นต้น  (Salutation)
 (Comma) หลังคำลงท้าย  (Complimentary Closed)
3. Closed Punctuation หรือ Full Pattern (แบบปิด) ใส่เครื่องหมายวรรคตอนทุกท้ายบรรทัด ยกเว้นในข้อความจดหมายพิมพ์เหมือนเดิม สำหรับส่วนพิเศษต่างๆ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายท้ายบรรทัด
เครื่องหมายวรรคตอนทั้ง แบบ สามารถใช้ได้กับจดหมายทุกรูปแบบนักเรียนจะต้องจดจำและใช้ให้ถูกต้อง
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมเว็บไซต์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ครับ